×
Live หน้าหลัก ทันเหตุการณ์ ทั่วไป คุณภาพชีวิต อาชญากรรม เศรษฐกิจ ต่างประเทศ กีฬา สิ่งแวดล้อม ทหาร การเมือง ภูมิภาค บทความ บันเทิง Life แฟชั่นและความงาม อาหารและสุขภาพ ไอที ท่องเที่ยวและวัฒนธรรม การเงินและการลงทุน โชคชะตาและความเชื่อ กิจกรรม ททบ. กิจกรรม ทบ. แนะนำรายการ หน่วยงานและเอกชน พอดแคสด์ ศูนย์ข่าววิทยุ ติดต่อเรา

วันศุกร์ที่ 21 มีนาคม 2568

?>

รวมความเชื่อผิดๆเกี่ยวกับการใช้ยา สำหรับเด็ก

 12 ม.ค. 2567 13:16 | 10099 view

 @thanthai

Facebook X Share

เมื่อลูก ๆ ป่วย สิ่งที่ตามมาก็คือ ความวิตกกังวลของพ่อแม่ ซึ่งไม่ใช่ทุกครั้งที่อาการป่วยรุนแรงถึงขั้นต้องนอนโรงพยาบาล หลาย ๆ ครอบครัวก็ดูแลลูกตามประสบการณ์ที่เคยได้ยินได้ฟังมาว่าป่วยแล้วต้องทำอย่างไร กินยาอย่างไร โดยเฉพาะเรื่องการใช้ยา ยังมีความเข้าใจไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้สำหรับเด็กอยู่หลายกรณี วันนี้เรารวบรวมมาให้เป็นคู่มือสำหรับคุณแม่มือใหม่ว่า หากลุกไม่สบายแล้วต้องกินยา ใช้ยาแบบไหนให้ปลอดภัย ไม่เสี่ยงอันตราย

 

1. กินยาดัก เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย

พออากาศเปลี่ยน ตากฝน สิ่งที่พ่อแม่นิยมทำก็คือให้ลูกไปอาบน้ำให้เร็วที่สุด แล้วกินยาดักไข้เอาไว้ จะได้ไม่ป่วย ซึ่งเป็นความเชื่อยอดนิยมที่คิดว่ายาจะสามารถป้องกันไข้หวัดได้ โดยเฉพาะการกินยาพาราเซตามอลหรือยาลดไข้ชนิดอื่นๆ ในความจริงนั้น ยาเหล่านี้มีฤทธิ์บรรเทาอาการปวด ลดไข้ แต่ไม่ได้มีสรรพคุณในการป้องกันอาการป่วย 

ดังนั้น การกินยาดักไข้ตอนที่ยังไม่มีอาการจึงไม่สามารถช่วยป้องกันการเป็นไข้ได้ อีกทั้งยาทุกชนิดมีผลข้างเคียง และอาจเกิดอันตรายหากกินติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน  จะส่งผลให้ตับทำงานหนัก จนเซลล์ตับถูกทำลาย และมีโอกาสเกิดภาวะตับอักเสบได้ในที่สุด

 

2.เลือกยาให้เหมาะสมกับวัย

ตัวอย่างเช่น ยาแก้ไอ ไม่ควรนำยาแก้ไอของผู้ใหญ่มาให้เด็กกิน เพราะยาบางชนิดอาจจะผสมแอลกอฮอล์ หรือยาบางตัวอาจมีฤทธิ์กดศูนย์กลางการหายใจ อาจทำให้เด็กหยุดหายใจจนเสียชีวิตได้

หรือยาแก้ท้องเสีย ไม่ควรให้ยาที่มีความแรงมากในเด็กเล็ก เพราะอาจไปกดการหายใจได้ วิธีที่ดีที่สุดคือการให้น้ำและเกลือแร่ เพื่อชดเชยการสูญเสียน้ำ เพราะอาการขาดน้ำในเด็กอาจทำให้เสียชีวิตได้

 

3.กินยาเกินขนาด (overdose) จะได้หายเร็วๆ

การกินยาในปริมาณหรือขนาดที่มากกว่าแพทย์กำหนด ไม่ว่าจะเกิดจากอุบัติเหตุ ความเข้าใจผิด หรือคิดว่าจะทำให้หายจากโรคเร็วขึ้น เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง เนื่องจากอาจส่งผลให้เสียชีวิตได้ ดังนั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ควรศึกษาและทำความเข้าใจให้ถูกต้องในเรื่องของปริมาณและระยะเวลาของการกินยา ซึ่งยาที่พบบ่อยว่ากินเกินขนาด คือ ยาพาราเซตามอล โดยแนะนำว่าขนาดที่ถูกต้องในการกินยา 1 ครั้ง ใช้ยาขนาด 10-15 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เช่น น้ำหนักตัว 60 กิโลกรัม ขนาดยาอยู่ที่ 600-900 มิลลิกรัม หรือขนาดยา 500 มิลลิกรัม 1.5 เม็ด ทุก 4-6 ชั่วโมง วันละไม่เกิน 5 ครั้ง  

อีกทั้งยาพาราเซตามอลนั้นเป็นยารักษาตามอาการ หากไม่มีอาการปวดหรือไม่มีไข้ ก็ไม่จำเป็นต้องกินยา ดังนั้น การกินยาพาราเซตามอลมากเกินไปหรือกินพร่ำเพรื่อติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจส่งผลให้ตับทำงานบกพร่อง เสี่ยงต่อภาวะตับอักเสบได้

 

4.เป็นหวัดเจ็บคอต้องกินยาปฎิชีวนะ

ภาวะเจ็บคอส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัสหรือที่เรียกกันว่าเชื้อหวัด ส่วนอาการเจ็บคอจากการติดเชื้อแบคทีเรียนั้นจะต้องมีอาการบ่งชี้อื่นๆ เช่น มีไข้สูง มีฝีหนองที่ต่อมทอนซิล น้ำมูก/เสมหะสีเหลือง/เขียว 

การติดเชื้อไวรัสหรือหวัดไม่มียาฆ่าเชื้อโดยตรง ใช้การรักษาตามอาการให้ร่างกายกำจัดเชื้อออกไปเอง ดังนั้น จึงมีความเข้าใจผิดว่าเมื่อมีอาการเจ็บคอควรซื้อยาฆ่าเชื้อหรือยาปฏิชีวนะมากินจึงไม่ช่วยรักษาอาการเจ็บคอจากหวัดได้

 

ข้อห้ามใช้ของยาสำหรับทารกและเด็กเล็กบางชนิดที่ควรจดจำ

1. แอสไพริน (Aspirin) ไม่ควรใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ขวบ เพราะอาจทำให้มีเลือดออกได้

2. คลอร์เฟนิรามีน (Chlorpheniramine) ไม่ควรใช้ในทารกอายุต่ำกว่า 2 เดือน เพราะอาจทำให้ซึม นอนไม่หลับ หรือชักได้

3. คลอแรมเฟนิคอล (Chloramphenicol) ห้ามใช้ในทารกอายุต่ำกว่า 4 เดือน เพราะอาจทำให้เด็กตัวเขียว เนื้อตัวอ่อนปวกเปียก หรือหมดสติได้

4. โลเปอราไมด์ (Loperamide) ไม่ควรใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ เพราะอาจกดศูนย์การหายใจ

5. ซัลฟานาไมด์ (Sulfanamide) ห้ามใช้ในเด็กทารกอายุต่ำกว่า 2 เดือน เพราะอาจทำให้เกิด ดีซ่านและสมองพิการได้

6. เตตร้าซัยคลิน (Tetracyclin) ห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 8 ขวบ เพราะอาจทำให้ฟันเหลืองดำอย่างถาวรและกระดูกเจริญเติบโตไม่ดี

7. เดกซ์โทรเมทอร์แฟน (Dextromethorphan) ห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ เพราะยาอาจกดศูนย์กลางการหายใจ


 

ขอบคุณข้อมูลจาก

https://ayo.moph.go.th/pharmacy/index.php?mod=Blocks&op=BlocksDetail&id=eoZIc4NPTwoglIBIQ7DZen5vwKe8E4nT

https://www.samitivejhospitals.com/th/article/detail/myths-medications

https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/10-behaviors-for-unsafety-medication-usage

 

เป็นเพื่อนกับบัญชีทางการ LINE ของเราเพื่อรับข่าวสารล่าสุดและอีกมากมาย!

เพิ่มเพื่อน

ทันเหตุการณ์

ข่าว

‘ทักษิณ’ เที่ยวเยาวราชรอบ 19 ปี กินอาหารร้านโปรด ร่วมวงเพื่อนธุรกิจ

21 มี.ค. 2568 09:34 5 views

ข่าว

ราคาทองวันนี้ 21 มี.ค. 68

21 มี.ค. 2568 09:29 22 views

ข่าว

ราคาน้ำมันวันนี้ 21 มี.ค. 68 

21 มี.ค. 2568 09:02 38 views

ข่าว

ในหลวง พระราชินี ทรงเปิดอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 และทางวิ่งเส้นที่ 3 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

21 มี.ค. 2568 08:52 20 views

ข่าว

“ทวี” ยันอุยกูร์ปลอดภัย ได้ชีวิตใหม่ที่ซินเจียง

20 มี.ค. 2568 15:30 123 views

ข่าว

ธปท. เคาะผ่อนเกณฑ์ LTV ชั่วคราว หวังกู้ชีพ อสังหาฯ

20 มี.ค. 2568 15:30 143 views

ข่าว

ทรัมป์–เซเลนสกี้ จับมือลุ้น “สันติภาพยูเครน” 

20 มี.ค. 2568 15:29 221 views

ข่าว

สมัครใจเป็นทหาร 1-25 มี.ค.นี้ รับโอกาสเลือกหน่วยประจำการ

20 มี.ค. 2568 15:25 407 views

ข่าว

'พิชัย-พิพัฒน์' ยัน ไม่ใช่ 'รัฐมนตรี พ.' รับซื้อสร้อยหรู 26 ล้าน

20 มี.ค. 2568 15:19 196 views

ข่าว

"เมย์" ลั่น! ถอนแจ้งความ "ดิว" คืนครบจบ

20 มี.ค. 2568 14:43 177 views

ข่าว

"ประธาน กกต."เผยมี 27 คำร้องเข้าข่ายฮั้วเลือก สว.

20 มี.ค. 2568 14:02 190 views

ข่าว

‘ลูกสันติ’แจง‘ตระกูลพร้อมพัฒน์’ไม่เกี่ยวปม‘สปส.’ซื้อ‘ตึก Skyy9’

20 มี.ค. 2568 13:51 204 views

ข่าว

เลขา กกต.ย้ำคุณสมบัติผู้ช่วยหาเสียง ใช้คนระดับชาติช่วยหาเสียงท้องถิ่นได้

20 มี.ค. 2568 13:49 166 views

ข่าว

กองทัพบกจัดนิทรรศการแนะแนวอาชีพ พัฒนาศักยภาพกำลังพลและครอบครัว

20 มี.ค. 2568 13:10 133 views

ข่าว

ศาลสั่งจำคุก “กฤษณ์ ณรงค์เดช” 44 เดือนไม่รอลงอาญา ยักยอกทรัพย์ “ณพ”

20 มี.ค. 2568 12:04 331 views

ข่าว

"หมอเกศกมล" ไม่กังวล ปม ตรวจสอบวุฒิการศึกษา หลัง กกต. บอกฝ่าฝืน 2 ข้อหา

20 มี.ค. 2568 10:48 247 views